top of page

วิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด


ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถรักษาด้วย:

  • จิตบำบัด การได้พูดคุยกับแพทย์หรือนักวิชาการสุขภาพจิตจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายผ่อนคลายความวิตกกังวล และร่วมกันหาวิธีเพื่อรับมือกับสถานการณ์และอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

  • ยาต้านเศร้า ส่วนใหญ่แล้วสามารถรับประทานยาต้านเศร้าในช่วงให้นมบุตรได้ หากมีความกังวล ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของยาก่อนใช้

ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องให้ครบตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการอีก หากอาการไม่ดีขึ้น อาการอาจรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้


ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะมีอาการรุนแรงและยาวนานกว่า ซึ่งอาจยาวนานถึงหนึ่งปี อาการมักแสดงในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด อาการที่มักพบได้แก่

  • อารมณ์แปรปรวนรุนแรง วิตกกังวลอย่างหนัก หรือมีภาวะตื่นตระหนก

  • รู้สึกไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ

  • ร้องไห้บ่อย

  • ไม่รู้สึกผูกพันกับบุตร

  • รู้สึกสิ้นหวัง คิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตร ความตาย และการฆ่าตัวตาย

  • ไม่อยากอาหาร หรือทานอาหารมากผิดปกติ

  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

  • อ่อนล้า หมดความสนใจหรือไม่มีความสุขกับเรื่องที่เคยชอบ

  • แยกตัว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือเพื่อน

  • สับสน ไม่มีสมาธิ

ดู 10 ครั้ง

Comments


bottom of page