การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือ “การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง” เป็นการตรวจที่ใช้ “คลื่นเสียง” ในการสร้างภาพลูกในท้องของคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ ไขมัน อวัยวะในช่องท้อง ร่างกายของทารก รก และน้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับ เพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้งค่ะ คุณแม่นึกถึงหลักการเดียวกันกับคลื่นเสียงที่โลมา หรือค้างคาวปล่อยออกไป และสะท้อนกลับมาแปลงเป็นภาพในสมอง เพื่อหาตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้นะคะ
แล้วคุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่อายุครรภ์เท่าไร? คุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยสูติแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ (maternal-fetal medicine, MFM) เพื่อตรวจหาความพิการในทารก (anomaly scan) และติดตามพัฒนาการของทารก ในปัจจุบันแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกไตรมาสค่ะ และสำหรับคุณแม่บางท่านที่มีภาวะแทรกซ้อนผิดปกติ เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อย น้ำคร่ำน้อย ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน หรือครรภ์แฝด ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ถี่กว่าปกติ และตรวจละเอียดมากขึ้น โดยบางครั้งอาจต้องได้รับการตรวจทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือทุกวันนะคะ การตรวจอัลตร้าซาวด์สามารถตรวจความพิการได้ทุกอย่างหรือไม่? แม้การตรวจอัลตร้าซาวด์จะไม่สามารถเห็นความผิดปกติหรือความพิการทุกอย่างได้ แต่ด้วยความสามารถและประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยส่วนใหญ่จะสามารถตรวจความผิดปกติได้มากถึง 80-90% และข้อจำกัดที่ทำให้การตรวจอัลตร้าซาวด์ไม่สามารถพบความผิดปกติได้ ประกอบด้วย การระบุชนิดของอวัยวะที่เกิดความผิดปกติ เช่น มือเท้า แขนขา และทางเดินหายใจที่จะตรวจพบได้ยากมาก หรือท่าของทารกขณะการตรวจ (นอนคว่ำ ปิดหน้า หนีบขา) โดยคุณแม่น้ำหนักเยอะ ที่ทารกเกิดความผิดปกติภายหลังการตรวจอัลตร้าซาวด์ในช่วงแรก ควรรับตรวจอัลตร้าซาวน์อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือทุกๆ 3 เดือนนะคะ MomGuard มีบริการเจาะเลือดถึงบ้านฟรี ทำการเจาะโดยพยาบาล (ในเขตพื้นที่กทม. เท่านั้น) และรู้ผลภายใน 5 วันทำการ สอบถามรายละเอียด และข้อมูลการตรวจ NIPT เพิ่มเติมได้ที่ Tel: 02-579-1965 Mobile:: 091-705-6754 LINE@ : @momguard หรือ https://lin.ee/5ABTJD7 Map :https://bit.ly/2MKFxyc
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย: ความแม่นยำของคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยความพิการของทารกในครรภ์ และNHS Fetal Anomaly Screening Program, England, United Kingdom
Comments